
เคยไหม? เริ่มเข้าวัย 40 แล้ว เริ่มไม่แฮปปี้เหมือนเดิม ร่างกายเริ่มไม่ค่อยสู้ จะทำอะไรก็เหนื่อยไปหมด❓แถมภาระหน้าที่ความรับผิดชอบก็เยอะไปหมด พลังแทบจะหมดไปทุกวัน ไม่อยากเริ่มวันใหม่เลย!! อยากอยู่เฉยๆไม่อยากทำอะไร

วันนี้ OSO จะมาแนะนำวิธีการใช้ชีวิต และรับมือกับวัย 40 ให้อยู่หมัด ทำง่ายๆเพียงแค่ 4 ขั้นตอน ที่แสนง่าย ที่จะให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีชีวา แบบ LIVE FRESH

🍀ออกกำลังกาย
สามารถเป็นการขยับเขยื้อน เคลื่อนย้ายร่างกายแบบเบาๆได้ เช่น การเดินไว วิ่งเหยาะ หรือการทำงานบ้านเล็กๆน้อย เพื่อให้ร่างกายได้ใช้งานมากขึ้น บทความจาก NIA (National Institute of Aging) การเสียชีวิตของคนไทยจากโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โ รคหัวใจ โรคเบาหวาน มะเร็ง เพิ่มขึ้นเป็น 71%ในปี 2015 จาก 64% ในปี 2000 ส่วนใหญ่เกิดมาจากการไม่ออกกำลังกาย [1] แนะนำออกกำลังกายง่ายสุดคือแบบแอโรบิค อย่างน้อย 150 นาที / อาทิตย์ หรือวันล่ะ 21 นาทีเอง ยิ่งวัยกลางคนการละเลยการออกกำลังกายและไม่ดูแลสุขภาพของตัวเอง จะทำให้ร่างกายแก่ตัวอย่างรวดเร็ว

🍀ฝึกควบคุมอารมณ์
อาจเริ่มจากการลองฝึกระงับความโกรธด้วยการหาสิ่งบันเทิงใจดู มองโลกในแง่ดี ระงับความโกรธ และทำจิตใจให้เบิกบานด้วยการนั่งสมาธิกันดูได้ การฝึกควบคุมอารมณ์ทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น [2] เพราะสมองสามารถเรียนรู้ในการหยืดหยุ่นของชีวิต สามารถมีการปรับตัวเองได้ มองสิ่งต่างๆในแง่บวก ช่วยฟื้นฟูสมองได้เช่นกัน อาจจะคิดว่าทำยากเพราะทุกอย่างดูเร่งรีบ ดูเครี ยดไปหมด แนะนำลองหยุดหายใจลึกๆยาวๆ สัก 1 นาที แล้วยิ้มทุกๆปัญหา แล้วลุย เชื่อว่าช่วยทำให้เราสามารถมีสติในการควบคุมอารมณ์ได้ดี

🍀ตรวจสุขภาพ
สาเหตุของความไม่สบายตัว อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของสุขภาพภายใน ยิ่งพอเข้าเลข 4 แล้วร่างกายมีการเสื่อมถอยเป็นเรื่องปกติ ลองเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีดูก่อน เช็คค่าที่คนวัยกลางคนจะเจอกัน เช่น ความดัน ระดับไขมันในเลือด คอเลสเตอรอล ค่าน้ำตาลในเลือด เบาหวาน มวลกระดูก และมะเร็ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขได้ทันท่วงทีตั้งแต่เริ่มต้น หลายๆโรงพยาบาลมีโปรโมชั่นให้ได้เลือก

🍀บาลานซ์การกิน
การกินคือเรื่องใหญ่มาก เพราะเรากินทุกวัน อาหารที่เข้าไปส่งผลทั้งบวกและลบให้กับร่างกาย ยิ่งอายุมากขึ้น เราก็ควรเลือกกินให้มากขึ้น สิ่งที่ควรปรับสมดุลการกินคือการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ และอาหารรสจัด เพราะสามารถกระตุ้นอาการร้อนวูบวาบได้ จากหนังสือ Healthy Aging [3] ควรกินให้น้อยลง และจำกัดการกิน 8-10 ชั่วโมงคล้าย IF เน้นทานผักมากและหลากหลายยิ่งดี ทานธัญพืชไม่ผ่านการขัดสี เช่นขนมปังโฮลวีท เส้นพาสตาธัญพืช ข้าวกล้อง เลือกโปรตีนที่มีคุณภาพ เนื้อปลา ไก่ และถั่วต่างๆ และใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ น้ำมันมะกอก คาโนลา เป็นต้น โดยสรุป การกินน้อยลง การกินครบหมวดหมู่ จำกัดเวลาการกินเหลือ 8-10 ชั่วโมง และเลี่ยงกินอาหารหนักตอนเย็น จากงานวิจัยพบว่า ช่วยทำให้ลดความดัน ลดคอเลสเตอรอล และลดน้ำตาลได้ ทำให้ความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็งเบาหวาน ลดลงไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราควร “เลือก” อาหารที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ อย่าง Superfoods ถือว่าเป็นกลุ่มที่อุดมด้วยโภชนาการสูงกว่าอาหารทั่วไป ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์ได้มากกว่าเช่นกัน
#OSO #LIVEFRESH เรื่องหัวใจไว้ใจOSO #OSOTips
Reference:
[1] Physical activity and sedentary behavior research in Thailand June 2018, NIA BMC Public health 18:733
[2] https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37141113/
[3] Healthy Aging ดร.ศุภชัย สายเชื้อ page 53-73